วีซ่าออแพร์นอร์เวย์ 2022

คุณสมบัติ

สิทธิ & หน้าที่

วีซ่า

ยุติสัญญาจ้าง

FAQ และอื่นๆ

แนะนำตัวละครหลัก

หากเราทำวีซ่าด้วยตัวเอง เราจำเป็นที่จะต้องเข้าใจขั้นตอนและหน่วยงานต่างๆที่รับผิดชอบงานในแต่ละขั้นตอนของเรา ความเข้าใจนี้จะนำไปสู่การตั้งคำถามกับบุคคลที่ถูกต้อง ทำให้ขั้นตอนต่างๆดำเนินไปได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น

ใครเป็นใคร?

หน่วยงานไหน ทำหน้าที่อะไรบ้าง เรามาทำความรู้จักกันค่ะ

UDI

สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) ของนอร์เวย์ มีหน้าที่ออกกฎและอนุมัติวีซ่า

Politi (Police)

ตำรวจของนอร์เวย์ทำงานร่วมกับ ตม. ในการรับเอกสาร หรือออกบัตร Rescidency card (บัตรชมพู) เป็นต้น

VFS

ศูนย์รับคำร้องขอวีซ่า บริษัทเอาท์ซอร์สที่ทำหน้าที่รับเอกสารประกอบการขอวีซ่า เก็บบันทึกลายนิ้วมือ และบริการต่างๆเกี่ยวกับการขอวีซ่า

กรมการกงศุล กระทรวงการต่างประเทศ

ทำหน้าที่สแตมป์รับรองเอกสารราชการ รับรองการแปลเอกสารราชการ และทำหนังสือเดินทาง (พาสปอร์ต)

สถานทูตนอร์เวย์
ประจำประเทศไทย

เป็นตัวแทนประเทศนอร์เวย์ ดำเนินงานราชการของนอร์เวย์ในไทย สัมภาษณ์ผู้ยื่นคำร้องขอวีซ่า ประทับตรารับรองนิติกรณ์ต่างๆ เป็นต้น

สถานทูตไทยประจำกรุงออสโล

ตัวแทนประเทศไทยในนอร์เวย์ ดำเนินงานราชการ เช่น ทำบัตรประชาชน, พาสปอร์ต, ใบมอบอำนาจ, งานกงศุล เป็นต้น

Caritas Au Pair-senter

ศูนย์ช่วยเหลือออแพร์และครอบครัวโฮสในนอร์เวย์ เป็นหน่วยงานให้คำปรึกษา ตอบข้อสงสัย, รับฟังปัญหา, จัดสัมนา/กิจกรรม และช่วยเหลือทั้งออแพร์และโฮส

เอกสารที่เตรียมล่วงหน้าได้เลย

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : กรมการกงศุล (ทำหนังสือเดินทาง)

ขั้นตอนที่ช้าที่สุดควรเป็นการหาโฮสและการรอวีซ่า สิ่งที่คุณสามารถทำได้โดยไม่ต้องเสียเวลาอย่างคาดเดาไม่ได้คือการเตรียมเอกสารที่รู้ดีว่าจะต้องใช้อยู่แล้ว สำหรับการมาเป็นออแพร์นอร์เวย์ คุณมีเอกสารพื้นฐานที่ต้องใช้ดังนี้

  • หากคุณยังไม่มีหนังสือเดินทาง ให้ไปทำหนังสือเดินทางก่อน
  • หากมีหนังสือเดินทางอยู่แล้วให้เช็คว่าเอกสารมีอายุใช้งานหรือจำนวนหน้าว่างเหลืออยู่เท่าไหร่

ตม.นอร์เวย์จะออกวีซ่าให้ได้สูงสุดก่อนหนังสือเดินทางหมดอายุ 3 เดือน ฉะนั้นหากเราจะทำวีซ่าออแพร์ 2 ปี ในวันที่ยื่นขอวีซ่า หนังสือเดินทางของเราต้องมีอายุเหลืออยู่อย่างน้อย 2 ปี 3 เดือน และมีหน้ากระดาษว่างเหลืออยู่อย่างน้อย 2 หน้าเพื่อติดวีซ่า

  • หากเป็นการยื่นเอกสารวีซ่าออนไลน์ ให้สแกนเอกสารนี้ (ทุกหน้าของเอกสารที่มีการใช้งาน) เป็นสำเนาดิจิตอลไฟล์รอไว้เลย
  • เป็นภาพสี  ที่อยู่บนพื้นหลังสีขาว
  • มีความกว้าง 35-40 ม.ม.
  • ถ่ายมาไม่เกิน 3 เดือน มีภาพใกล้เคียงกับผู้สมัครมากที่สุด
  • ภาพหน้าเต็ม มองตรง ตาตรงไปที่กล้อง
  • เห็นศีรษะทั้งหมด และหัวไหล่  ขนาดของหน้ากินพื้นที่ประมาณ 70-80 เปอร์เซนต์ของรูป

(คลิกที่นี่เพื่ออ่านเพิ่มเติมเรื่องคุณสมบัติรูปถ่าย)

หนึ่งในเอกสารที่ยื่นตอนขอวีซ่าคือ “Au Pair checklist” โดยใต้เช็คลิสต์นี้จะมีคำถาม “สัมภาษณ์” เพื่อทราบรายละเอียดเกี่ยวกับเราในฐานะผู้ขอวีซ่าว่ามีความเข้าใจความหมายของตัวโครงการออแพร์มากแค่ไหน

คำตอบของเรามีผลต่อการพิจารณาวีซ่า แต่ถ้าเราศึกษาข้อมูลเรื่องคุณสมบัติ สิทธิ, หน้าที่ของออแพร์ และการทำวีซ่าออแพร์นอร์เวย์ในหน้านี้แล้ว เราก็มีความรู้มากพอที่จะทำแบบทดสอบแล้วค่ะ

คำถามทั้งหมดมี 18 ข้อ หลายๆข้อเพื่อนๆสามารถเขียนคำตอบรอไว้ได้เลยโดยไม่ต้องรอให้แมชกับโฮสก่อน ระหว่างที่หาโฮสเราก็ร่างคำตอบรอไว้ได้เลยเพื่อประหยัดเวลาค่ะ

  1.  Why do you wish to be an au pair in Norway?
  2. How did you find out about the au pair scheme? (Write the name of, for example, websites where you found information, places you have read about the scheme, or the names of those who have told you about it.)
  3. What does it mean to be an au pair?
  4. How did you get into contact with the host family in Norway?
  5. Do you know anyone living in Norway, apart from the host family? What are their names and how do you know them? (Please write their first name and family name, and explain if they are related to you or if they for example are friends of yours.)
  6. What will your duties in the host family be?
  7. How many hours will you work each day? Please describe (briefly) how you imagine one of your working days to be.
  8. How many hours will you work each week? Please describe (briefly) how you imagine one of your working weeks to be.
  9. What will you do if the host family offers you to work more hours than what is stated in the contract, so that you can earn extra money?
  10. What will you do if someone outside the host family asks you to do extra work for them?
  11. What are you planning to do in Norway when you are not working?
  12. Do you already have any knowledge of the Norwegian language?

  13. What are your plans for learning Norwegian while you are in Norway?
  14. Does your host family have an au pair at the moment? If so, what is her/his name?
  15. What are you planning to do when you are finished being an au pair in Norway?
  16. When are you planning to return to your home country?
  17. Do you have children of your own?
  18. Describe your life at the moment. Are you working? Are you studying?

เมื่อแมชกับโฮสแล้วทำอะไรต่อ?

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : UDI & VFS 

ในขั้นตอนนี้จะเกี่ยวกับการรวบรวมและส่งเอกสาร โดยการส่งเอกสารให้รัฐ เราจะต้องเข้าไปสร้างสร้างบัญชีผู้ขอวีซ่าออนไลน์ใน Application Portal ก่อน จากนั้นจึงเข้าไปที่ VFS เพื่อยื่นหนังสือเดินทาง และปั้มลายนิ้วมือ เป็นต้น โดยลำดับเหตุการณ์และวิธีการมีดังนี้

สัญญาจ้างออแพร์สร้างโดย UDI เป็นฟอร์มที่ออแพร์ทุกคนที่จะไปนอร์เวย์ต้องใช้เหมือนกัน และมีฟอร์มให้เราดาวน์โหลดอยู่แล้ว 
(คลิกที่นี่เพื่อโหลดสัญญาจ้างออแพร์)

ข้อความที่จะกรอกต้องเป็นตัวพิมพ์ใหญ่ และสามารถพิมพ์ลงไปได้ก่อนปริ๊นท์ออกมาเพื่อเซ็นชื่อในหน้าสุดท้ายของสัญญา โฮสควรเป็นผู้กรอกข้อมูลในสัญญาและเซ็นชื่อมาให้เรียบร้อยจึงส่งมาให้เราลงชื่อ เมื่อเราได้รับและลงชื่อแล้วจึงสแกนเอกสารเป็นดิจิตอลไฟล์ และส่งสำเนาไปให้นายจ้างถือไว้ด้วย

สัญญาฉบับนี้เป็นเอกสารที่สมบูรณ์ในตัวของมันเอง แต่ในบางกรณีอาจจำเป็นต้องมีเอกสารแนบประกอบด้วย ดังนี้:

  • บทความข้อที่ 3 ในสัญญาว่าด้วยสาเหตุของการเปลี่ยนโฮสและวันที่จะย้ายออกจากบ้านโฮสเก่า
    หากเพื่อนๆกำลังทำสัญญาจ้างเนื่องจากเป็นการเปลี่ยนครอบครัวโฮส และต้องการอธิบายสาเหตุที่ต้องออกจากบ้านเก่าให้กับรัฐแต่ไม่ประสงค์ที่จะชี้แจงให้โฮสใหม่ทราบ เพื่อนๆสามารถแนบจดหมายอธิบายส่วนตัวคู่ไปกับสัญญาฉบับนี้ตอนยื่นขอวีซ่าได้
     
  • บทความข้อที่ 6 ในสัญญาว่าด้วยสมาชิกครอบครัว
    หากผู้ปกครองของเด็กเป็น Single mon/dad โฮสจะต้องให้เอกสารแนบมาด้วยว่าตนมีสิทธิดูแลบุตรกี่เปอร์เซ็นต์ (โฮสที่เป็น Single mon/dad จะต้องมีสิทธิเลี้ยงดูบุตรอย่างน้อย 50% อ่านเพิ่มเติมใน “คุณสมบัติ ออแพร์นอร์เวย์”)

เอกสารที่ต้องใช้ในการขอวีซ่ามีระบุอยู่ใน checklist เหตุที่เราต้องเตรียมเอกสารให้พร้อมก่อนทำบัญชี Application Portal ก็เพราะหลังจากเรายื่นคำร้องออนไลน์และชำระค่าทำเนียมแล้ว เราควรเข้าสู่ขั้นตอนของการจองวันเข้าไปที่ศูนย์รับคำร้อง VFS ได้เลย ดังนั้นเราจึงต้องรวบรวมเอกสารก่อน
(คลิกที่นี่เพื่อเข้าสู่หน้า Checklist for Au Pair)

เมื่อคลิกเข้าไปในลิ๊งค์ข้างบนนี้ เพื่อนๆจะเห็นไอคอนสั่งปริ๊นท์ใต้ชื่อเอกสาร ให้สั่งปริ๊นท์หน้าเว็บนั้นออกมา เป็นใบปะหน้าแฟ้มเอกสารที่เราจะถือไป VFS 

เอกสารที่เราต้องรวบรวมตามที่ระบุใน checklist มีดังนี้:

  • หนังสือเดินทางตัวจริงและสำเนาทุกหน้าที่ใช้แล้ว
  • cover letter จาก Aplication Portal ที่เราลงชื่อแล้ว (อธิบายอยู่ในขั้นตอนถัดไป)
  • รูปถ่ายหน้าตรงทำพาสปอร์ต (ฉากขาว) จำนวน 2 รูป
  • สัญญาจ้างที่โหลดมาจาก UDI กรอกข้อมูลครบถ้วน โดยโฮสและออแพร์ลงนามท้ายเอกสารเรียบร้อยแล้ว
  • ใบประกาศการผ่านแบบทดสอบ e-learning course for host family in Au Pair cases ที่โฮสต้องทำแล้วส่งมาให้เรา
  • เอกสารระบุสัญชาติของโฮส เช่น สำเนาหนังสือเดินทางของโฮส (ของทั้งโฮสพ่อและโฮสแม่ หากโฮสเป็น single parent ก็ใช้แค่ของคนเดียว)
  • เอกสาร Checklist ที่ปริ๊นท์ออกมาแล้วต้องตอบคำถามให้ครบและลงชื่อท้ายเอกสารจึงจะสมบูรณ์

ข้อความสีเขียวคือเอกสารที่ถ้าเพื่อนๆทำตามขั้นตอนที่ The Little Fighter แนะนำไว้ข้างต้น จะมีเอกสารนั้นพร้อมอยู่แล้วหรือเกือบจะเสร็จเรียบร้อยรออยู่แล้ว ส่วนข้อความสีน้ำเงินคือเอกสารที่โฮสต้องจัดการส่งมาให้เรา จะเห็นได้ว่า เอกสารวีซ่าจริงๆแล้วก็ไม่ยุ่งยากอย่างที่คิดใช่ไหมล่ะคะ 🙂 ถ้าพร้อมแล้วเราไปดูขั้นตอนถัดไปกันดีกว่าค่ะ

ข้างล่างนี้คือลิ๊งค์สู่ Application Portal เป็นที่ที่เราบอกกับรัฐบาลนอร์เวย์ว่าเราต้องการขอวีซ่า และแน่นอนว่าเราต้องแจ้งผ่านสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองของนอร์เวย์ นั่นก็คือ UDI นั่นเอง วิธีการก็คือ เข้าไปที่ Application Portal เพื่อระบุตัวตนของเรา กรอกข้อมูลต่างๆลงในฟอร์มก่อน จากนั้นเราจึงจะสามารถชำระเงินค่าธรรมเนียมวีซ่าออนไลน์ และจองวันยื่นเอกสารกับ VFS ในขั้นตอนต่อๆไปได้
(คลิกที่นี่เพื่อเข้าสู่หน้าของ Aplication Portal)

วิธีสร้าง/กรอกข้อมูลบัญชีใน Application Portal

  1. Login: Create a user account and log in.
    ล็อกอิน (หากเป็นการเข้าใช้ครั้งแรกกดสร้างบัญชีผู้ใช้ใหม่แล้วจึงล็อกอิน)

  2. Filling in an application form: Select the correct application form and the office where you are going to submit your application. Continue to fill in your form. If there is a fee, please pay this online.
    กรอกแบบฟอร์มคำร้องให้เรียบร้อย: กรุณาเลือกแบบฟอร์มที่ตรงกับวีซ่าของเราและเลือกศูนย์รับคำร้องขอวีซ่า (ถ้ายื่นวีซ่าออแพร์นอร์เวย์จากประเทศไทย ศูนย์รับคำร้องนี้คือ VFS ที่อาคารจามจุรีสแควร์) กรอกข้อมูลในเอกสารไปตามขั้นตอน เมื่อมาถึงขั้นตอนการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมวีซ่าให้ชำระเงินออนไลน์ได้เลย

ค่าธรรมเนียมนี้ใครเป็นคนจ่าย?
คำตอบคือ เราที่เป็นผู้ยื่นคำร้องขอวีซ่าต้องจ่ายค่าธรรมเนียมการทำวีซ่านะคะ บางคนโฮสใจดีช่วยจ่ายให้ (เพราะราคาวีซ่าออแพร์นอร์เวย์โหดมาก) อันนี้แล้วแต่ตกลงกับโฮสค่ะ

  • การสร้างบัญชีผู้ขอวีซ่าออนไลน์ใน Application Portal จะนำเรามาสู่ขั้นตอนของการจ่ายเงินค่าธรรมเนียมวีซ่า โดยยอดเรียกเก็บของวีซ่าออแพร์นอร์เวย์คือ 9,100 NOK
  • เมื่อเรากรอกข้อมูลและชำระเงินค่าธรรมเนียมวีซ่าเสร็จแล้ว เราจะได้อีเมลตอบรับจากระบบ Application Portal และไฟล์แนบ เรียกว่า Cover Letter ซึ่งเป็นเอกสารที่แสดงหมายเลขไฟล์เคสและส่วนที่ยืนยันการชำระเงินค่าธรรมเนียม เอกสารนี้คือเอกสารอันสุดท้ายที่เรายังขาดอยู่จากใน checklist ในขั้นตอนก่อนหน้า พอได้อีเมลนี้มาก็คือเสร็จขั้นตอนการรวบรวมเอกสาร

ขั้นตอนถัดไปหลังชำระค่าธรรมเนียนวีซ่าแล้ว ระบบจะพาเราไปสู่หน้าจอการจองวันเวลาที่จะไปยื่นเอกสารขอวีซ่ากับ VFS ระบบการจองของ VFS กำหนดให้ผู้สมัครต้องสร้างชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านแยกต่างหากจาก Application Portal (เพราะเป็นคนละเว็บไซต์กัน)

(คลิกที่นี่เพื่อไปสู่หน้าระบบจองวันออนไลน์เพื่อยื่นเอกสารกับ VFS)

เมื่อถึงวันที่เรานัดให้นำเอกสารทั้งหมดที่เตรียมมา (ตามระบุใน Checklist) ไปยื่นที่ศูนย์รับคำร้อง เมื่อยื่นเอกสารกับ VFS ครบถ้วนแล้วเท่านั้น ขั้นตอนการขอวีซ่าของเราจึงจะเสร็จสมบูรณ์และเข้าสู่ช่วงของการรอผล

(คลิกที่นี่เพื่ออ่านรายละเอียดเพิ่มเติมในเว็บไซต์ VFS)

VFS อยู่ที่ไหน?

ตั้งแต่วันที่ 20 กรกฏาคม 2563 ผู้สมัครที่มีความประสงค์จะยื่นคำร้องขอวีซ่า กับประเทศนอร์เวย์ สามารถ ยื่นคำร้องของท่านได้ที่

ศูนย์รับคำขอวีซ่าประเทศนอร์เวย์ – วีเอฟเอส โกลบอล
ที่อยู่: เลขที่ 317 ชั้น 4 ยูนิต 404 – 405
โซนพลาซ่า จัตุรัสจามจุรีแสควร์ ถนนพญาไท
แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 ประเทศไทย
เมื่อมีปัญหาหรือต้องการสอบถาม ติดต่อ VFS visa call centre เบอร์ +66 (0) 211 87 004 ตั้งแต่เวลา 08:00 – 16:00 น. 

หมายเหตุ:

  • เอกสารทั้งหมดควรเป็นกระดาษขนาด A4 ที่ไม่ถูกเย็บแม็กรวมกัน
  • กรุณามาถึงศูนย์รับคำร้องฯ ก่อนเวลานัดหมาย 15 นาที 
  • โปรดรักษาหรือเก็บสำเนานัดหมายของคุณกับตามวันและเวลาที่กำหนดเพื่อแสดงต่อเจ้าหน้าที่ / เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย
  • หากท่านไม่มาแสดงตัวตนตามวันและเวลาที่ระบุไว้บนใบนัดหมาย ระบบจะไม่อนุญาตให้ผู้สมัครทำการเลื่อนหรือยกเลิกการนัดหมายเดิม ผู้สมัครจะต้องทำการนัดหมายใหม่วันถัดไป (หลังจาก 24 ชั่วโมง) 
  • ท่านสามารถทำการนัดหมายใหม่ได้ในวันทำการถัดไป และสามารถทำการนัดหมายใหม่ได้สูงสุดไม่เกิน 2 ครั้ง

เอกสารที่ VFS รับไปจากเราจะถูกส่งต่อให้สถานทูตนอร์เวย์ในไทย ก่อนที่จะถูกส่งต่อไปให้ UDI ดำเนินการพิจารณา เราสามารถติดตามความคืบหน้าของเคสเราได้จาก tracking number ผ่านเว็บ VFS ในลิ๊งค์ข้างล่างนี้

(คลิกที่นี่เพื่อเข้าสู่หน้าติดตามผลวีซ่าของ VFS)

บทความที่คุณอาจสนใจ