ยุติสัญญาจ้าง ออแพร์นอร์เวย์

คุณสมบัติ

สิทธิ & หน้าที่

วีซ่า

ยุติสัญญาจ้าง

FAQ และอื่นๆ

เกริ่นนำ

หากจุดสิ้นสุดของการเป็นออแพร์ของเราไม่ได้เกิดจากการทำงานจนจบสัญญาจ้าง ให้เข้าใจได้เลยว่ามีความเครียดในเหตุการณ์นี้แน่นอน ไม่ว่าเราหรือโฮสจะเป็นฝ่ายต้องการยุติสัญญาจ้าง ทาง The Little FIghter สนับสนุนให้ทุกคนศึกษาเงื่อนไขของเหตุการณ์นี้ล่วงหน้าให้พอทราบโดยสังเขบ ความเข้าใจนี้จะนำไปสู่การตั้งสติให้ช่วงเวลาคับขัน และการตั้งคำถามกับบุคคลที่ถูกต้อง ทำให้ขั้นตอนต่างๆดำเนินไปได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้นค่ะ

ใครเป็นใคร?

หน่วยงานที่มักเกี่ยวข้องกับเราในสถานการณ์นี้

UDI

สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) ของนอร์เวย์ มีหน้าที่ออกกฎและอนุมัติวีซ่า มีหน้าเว็บร่วมกันกับ SIRI

Politi (police)

ตำรวจของนอร์เวย์ทำงานร่วมกับ ตม. ในการรับเอกสาร หรือออกบัตร Rescidency card (บัตรชมพู) เป็นต้น

Caritas Au Pair-senter

ศูนย์ช่วยเหลือออแพร์และโฮสในนอร์เวย์ เป็นหน่วยงานให้คำปรึกษา ตอบข้อสงสัย, รับฟังปัญหา, จัดสัมนา/กิจกรรมต่างๆ

เงื่อนไขการยุติสัญญาจ้าง

  • ทั้งสองฝ่าย (ออแพร์และโฮส) สามารถยุติสัญญาจ้างได้ โดยการแจ้งกับอีกฝ่ายล่วงหน้า
  • ไม่ว่าฝ่ายไหนจะเป็นผู้ประสงค์ยุติสัญญาจ้าง คนนั้นจะต้องแจ้งล่วงหน้าให้อีกฝ่ายทราบอย่างน้อย 30 วัน
  • หากโฮสมี Holiday money ที่ติดค้างยังไม่ได้จ่ายให้ออแพร์ เราสามารถเบิกเงินส่วนนี้กับโฮสได้ในช่วงระยะเวลาการแจ้งล่วงหน้านี้
  • การแจ้งความประสงค์ยุติสัญญาต้องมีการเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร

  • นอร์เวย์ไม่มีแบบฟอร์มใบลาออกให้ดาวน์โหลด เราสามารถร่างใบลาออกด้วยตนเองได้เลย

ข้อควรทราบ

  • ทั้งสองฝ่าย (ออแพร์และโฮส) สามารถยุติสัญญาจ้างแบบมีผลทันทีได้ ถ้าอีกฝ่ายละเมิดสัญญาอย่างร้ายแรง หรือผิดสัญญาอย่างเห็นได้ชัด

  • โฮสไม่สามารถไล่ออแพร์ออกได้หากไม่มีเหตุผลประกอบการตัดสินใจ ออแพร์สามารถร้องถามโฮสได้ถึงเหตุผลและโฮสจะต้องให้คำตอบผ่านการเขียน แต่ในทางกลับกัน หากออแพร์เป็นฝ่ายยุติสัญญาจ้าง ออแพร์ไม่จำเป็นต้องรายงานเหตุผลของการลาออก
  • ทั้งโฮสและออแพร์จะต้องแจ้งกับตำรวจหรือ UDI เมื่อสัญญาการจ้างงานยุติลงก่อนที่ rescident permit ของเราจะหมด
  • สัญญาจ้างที่ยุติลงไป ไม่ใช่เหตุที่จะทำให้ออแพร์ต้องออกเก็บกระเป๋าจากประเทศนอร์เวย์ทันที โดยปกติแล้ว เมื่อรัฐได้รับแจ้งว่าสัญญาจ้างได้ยุติลง รัฐจะเตือนออแพร์ว่าเราจะถูกพิจารณาระงับวีซ่าโดยมีเวลา 3 สัปดาห์ให้ออแพร์ในการคอมเม้นโต้แย้ง โดยช่วงระยะเวลานี้ออแพร์สามารถทำสัญญาจ้างกับโฮสใหม่ ยื่นคำร้องขอวีซ่าออแพร์ใหม่อีกครั้ง และยื่นเอกสารขอวีซ่าต่างๆกับตำรวจในท้องถิ่นที่เราสังกัดได้

(อ่านเพิ่มได้จาก Caritas Information brochure for au pairs, สัญญาจ้างออแพร์นอร์เวย์ ข้อที่ 18 ว่าด้วยการยุติสัญญาจ้าง)

หากออแพร์ต้องการ
เปลี่ยนโฮส

หากออแพร์ต้องการ
เดินทางกลับไทย

หากออแพร์ต้องการ
เปลี่ยนโฮส​

  • หลังจากที่ทั้งเราและโฮสแจ้งกับรัฐเรื่องการยุติสัญญา ออแพร์จะมีเวลา 3 สัปดาห์ในการยื่นวีซ่ากับโฮสใหม่ให้แล้วเสร็จก่อนที่รัฐจะระงับวีซ่า
    (ที่มา: บทความข้อที่ 18 ในสัญญาจ้างว่าด้วยการยุติสัญญาจ้าง)

  • ออแพร์ไม่สามารถย้ายเข้าไปอยู่กับโฮสใหม่ได้จนกว่าจะยื่นคำร้องขอวีซ่าอนไลน์ (ใน application portal) และกดจองวันยื่นเอกสารที่เร็วที่สุดกับตำรวจเสียก่อน

  • หากยื่นคำร้องออนไลน์และจองวันยื่นเอกสารกับตำรวจที่ตัวเองสังกัดเรียบร้อยแล้ว ออแพร์สามารถย้ายเข้าบ้านโฮสใหม่และสามารถเริ่มงานได้เลยโดยไม่ต้องรอจนกว่าวีซ่าออแพร์ที่ยื่นไปใหม่จะอนุมัติก่อน

ข้อควรทราบ

  • วีซ่าออแพร์ในนอร์เวย์ไม่สามารถยืดระยะเวลาให้เกิน 2 ปีได้ หากเปลี่ยนโฮส ระยะเวลาการทำงานกับโฮสใหม่ รวมกับระยะเวลาที่อยู่ในบ้านโฮสแรกไปแล้ว ต้องไม่เกิน 2 ปี

  • ระยะเวลารอยต่อจากตอนที่หมดวีซ่ากับโฮสบ้านเก่า ไปสู่การได้วีซ่ากับโฮสบ้านใหม่จะถูกนับเป็นส่วนหนึ่งของระยะเวลาการเป็นออแพร์ด้วย
  • เราจะต้องเก็บอีเมลยืนยันการยื่นเอกสารออนไลน์ (ของ Application portal) และอีเมลยืนยันการจองวันยื่นเอกสารกับตำรวจไว้ให้ดี เพราะนั่นคือเอกสารยืนยันว่าเราอยู่ในประเทศ/บ้านโฮสใหม่อย่างถูกกฎหมายแม้ในวันที่วีซ่ากับบ้านเก่ายุติไปแล้ว
  • หลังจากยื่นเอกสารทำวีซ่าใหม่กับตำรวจแล้ว เราจะยังคงมีสิทธิต่างๆที่เคยมีในวีซ่าเดิมต่อไปในช่วงระหว่างการรอวีซ่าอนุมัติ แม้ว่าอายุของวีซ่ากับโฮสบ้านเดิมจะยุติไปแล้ว

(ที่มา: Want to renew: Au Pair – UDI)

หากออแพร์ต้องการ
เดินทางกลับไทย

  • โฮสมีหน้าหน้าที่ซื้อตั๋วเดินทางกลับให้ออแพร์ เมื่อการเดินทางขาออกนั้นเป็นการเดินทางกลับประเทศบ้านเกิดของออแพร์ ไม่ว่าสัญญาจ้างจะสิ้นสุดลงด้วยอายุสัญญาตามปกติก็ดี หรือด้วยการยุติสัญญาจ้างก็ดี

  • โฮสจะพ้นจากความรับผิดชอบในการออกค่าตั๋วเครื่องบินกลับบ้านของออแพร์ หากออแพร์ตัดสินใจจะเลิกเป็นออแพร์และหันไปทำวีซ่าประเภทอื่นต่อในต่างประเทศหรือในนอร์เวย์

  • หากมีการยุติสัญญาจ้างและได้แจ้งให้รัฐทราบแล้ว ในเวลา 3 สัปดาห์ที่รัฐแจ้งเตือนว่าจะมีการพิจารณาระงับวีซ่า หากเราไม่ส่งการตอบโต้ใดๆกลับไป เราจะได้จดหมายอีกฉบับจากรัฐ ที่แจ้งวันหมดอายุของวีซ่าและ deadline ในการเดินทางออกนอกประเทศนอร์เวย์
  • หากเราได้รับจดหมายแจ้งวันหมดอายุของวีซ่าและ deadline ในการเดินทางออกนอกประเทศแล้ว เราจะไม่สามารถเปลี่ยนใจมาขอต่อวีซ่าอะไรได้อีก ต้องเดินทางกลับไทยเท่านั้น
  • เพื่อความปลอดภัยของออแพร์ ความประสงค์ที่จะให้โฮสจองตั๋วเดินทางต่างๆเพื่อกลับไทย ควรทำผ่านการเขียน (ลงวันที่ และเซ็นรับทราบ) เผื่อสำหรับกรณีที่โฮสปฏิเสธที่จะออกค่าใช้จ่าย ออแพร์จะได้มีหลักฐานว่าเราได้แจ้งกับโฮสแล้วว่าเราตั้งใจจะเดินทางกลับไทย

  • ค่าใช้จ่ายการเดินทางกลับไทยไม่ใช่แค่ค่าตั๋วเครื่องบินอย่างเดียว แต่รวมไปถึงค่ารถ/รถไฟ ไปกลับจากสนามบินด้วย

  • หากโฮสไม่ซื้อตั๋วเดินทางให้ออแพร์หลังจากที่ออแพร์มอบหนังสือแจ้งความประสงค์จะเดินทางให้กับโฮส โฮสมีสิทธิถูกแบนจากการจ้างออแพร์ (Blacklist)

(อ่านเพิ่มเติมบางส่วนได้จาก Information brochure for au pairs)

หากมีคำถามหรือข้อสงสัยสามารถติดต่อและปรึกษาศูนย์ช่วยเหลือออแพร์ Caritas ได้จากลิ๊งค์ใน “ใครเป็นใคร?” ข้างบนได้เลยค่ะ

บทความที่คุณอาจสนใจ