ยุติสัญญาจ้าง ออแพร์เดนมาร์ก 2022

คุณสมบัติ

สิทธิ & หน้าที่

วีซ่า

ยุติสัญญาจ้าง

FAQ และอื่นๆ

เกริ่นนำ

หากจุดสิ้นสุดของการเป็นออแพร์ของเราไม่ได้เกิดจากการทำงานจนจบสัญญาจ้าง ให้เข้าใจได้เลยว่ามีความเครียดในเหตุการณ์นี้แน่นอน ไม่ว่าเราหรือโฮสจะเป็นฝ่ายต้องการยุติสัญญาจ้าง ทาง The Little FIghter สนับสนุนให้ทุกคนศึกษาเงื่อนไขของเหตุการณ์นี้ล่วงหน้าให้พอทราบโดยสังเขบ ความเข้าใจนี้จะนำไปสู่การตั้งสติให้ช่วงเวลาคับขัน และการตั้งคำถามกับบุคคลที่ถูกต้อง ทำให้ขั้นตอนต่างๆดำเนินไปได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้นค่ะ

ใครเป็นใคร?

หน่วยงานที่มักเกี่ยวข้องกับเราในสถานการณ์นี้

Danish Immigration Service

สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) ของเดนมาร์ก มีหน้าที่ออกกฎและอนุมัติวีซ่า มีหน้าเว็บร่วมกันกับ SIRI

SIRI

หรือที่มีชื่อเต็มว่า The Danish Agency for International Recruitment and Integration เป็นกรมแรงงานต่างด้าว ทำงานร่วมกันกับ ตม.

aupair_logo

Au Pair Network

ศูนย์ช่วยเหลือออแพร์และครอบครัวโฮสในเดนมาร์ก หากมีคำถาม, ต้องการร้องเรียน หรือขอคำปรึกษาเกี่ยวกับออแพร์ สามารถติดต่อไปที่

เงื่อนไขการยุติสัญญาจ้าง

  • ทั้งสองฝ่าย (ออแพร์และโฮส) สามารถยุติสัญญาจ้างได้ โดยการแจ้งกับอีกฝ่ายล่วงหน้า

ข้อควรทราบ

  • ทั้งสองฝ่าย (ออแพร์และโฮส) สามารถยุติสัญญาจ้างแบบมีผลทันทีได้ ถ้าอีกฝ่ายละเมิดสัญญาอย่างร้ายแรง หรือผิดสัญญาอย่างเห็นได้ชัด

  • หากไม่ได้มีการสร้างข้อตกลงใหม่กันเองส่วนบุคคล ออแพร์จะต้องทำงานให้โฮส และโฮสก็ต้องให้เงินเดือน อาหาร และที่พักเสมือนปกติ ในระยะเวลาหลังการแจ้งความประสงค์ยุติสัญญาจนถึงวันทำงานวันสุดท้าย

  • หากมีการตกลงกันเองกับโฮสว่าจะย้ายออกมาจากบ้านในช่วงระยะเวลาของการแจ้งยุติสัญญาล่วงหน้า โฮสจะมีหน้าที่แค่ให้เงินเดือนของเราในส่วนนั้น

หากออแพร์ต้องการ
เปลี่ยนโฮส

หากออแพร์ต้องการ
เดินทางกลับไทย

หากออแพร์ต้องการ
เปลี่ยนโฮส​

  • หลังจากวันสุดท้ายที่สัญญาออแพร์สิ้นสุดลง ออแพร์จะมีเวลา 1 เดือนในการหาโฮสใหม่ และเข้ายื่นเคสทำวีซ่าใหม่กับรัฐ
    (ดูวิธีการทำวีซ่าออแพร์เดนมาร์ก)

  • ออแพร์สามารถย้ายเข้าไปอยู่กับโฮสใหม่ได้เลย แต่ไม่สามารถเริ่มงานได้จนกว่าวีซ่าออแพร์ที่ยื่นไปใหม่จะอนุมัติ

ข้อควรทราบ

  • วีซ่าออแพร์ในเดนมาร์กไม่สามารถยืดระยะเวลาให้เกิน 2 ปีได้ หากเปลี่ยนโฮส ระยะเวลาการทำงานกับโฮสใหม่ รวมกับระยะเวลาที่อยู่ในบ้านโฮสแรกไปแล้ว ต้องไม่เกิน 2 ปี

  • หากบ้านโฮสใหม่มีแต่บุตรในอายุช่วงวัยรุ่น ออแพร์ต้องพึงตระหนักด้วยว่าโฮสจะขาดคุณสมบัติการเป็นนายจ้างเมื่อบุตรที่อายุน้อยที่สุดที่อาศัยอยู่ด้วย มีอายุครบ 18 ปี (อ่านเพิ่มเติมได้ที่ “คุณสมบัติ ออแพร์เดนมาร์ก“)

หากออแพร์ต้องการ
เดินทางกลับไทย

  • โฮสมีหน้าหน้าที่ซื้อตั๋วเดินทางกลับให้ออแพร์ เมื่อการเดินทางขาออกนั้นเป็นการออกไปนอกเขตประเทศ EU/EEA และสวิสเซอร์แลนด์ ไม่ว่าสัญญาจ้างจะสิ้นสุดลงด้วยอายุสัญญาตามปกติก็ดี หรือด้วยการยุติสัญญาจ้างก็ดี

  • หากออแพร์ตัดสินใจว่าจะเดินทางกลับไทย ออแพร์จะต้องแจ้งความประสงค์อย่างเป็นทางการ (ผ่านการเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร) ภายใน 7 วันหลังการทำงานวันสุดท้ายให้ครอบครัวอุปถัมภ์ทราบว่าออแพร์ต้องการกลับไปยังประเทศบ้านเกิดหรือประเทศที่พำนักอยู่ก่อนหน้าเพื่อ ให้ครอบครัวอุปถัมภ์สามารถซื้อตั๋วเดินทางให้ได้

  • เมื่อออแพร์มอบหนังสือแจ้งความประสงค์จะเดินทางให้กับโฮส โฮสจะมีเวลา 3 สัปดาห์นับจากนั้นในการซื้อตั๋วเดินทางให้ออแพร์

  • หากออแพร์ไม่แจ้งความประสงค์การเดินทางในระยะเวลาที่กำหนด สิทธิการรับตั๋วเดินทางกลับไทยฟรีจากโฮสจะถือเป็นโมฆะ

  • เช่นเดียวกัน หากโฮสไม่ซื้อตั๋วเดินทางให้ออแพร์ในระยะเวลาที่กำหนด หลังจากที่ออแพร์มอบหนังสือแจ้งความประสงค์จะเดินทางให้กับโฮส โฮสจะถูกแบนจากการจ้างออแพร์เป็นเวลา 2 ปี (ติด Blacklist)

บทความที่คุณอาจสนใจ